วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวข้อสอบเรื่องปฏิกิริยาเคมี

1. ข้อความใดถูกต้องสำหรับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
โมเลกุลมีพลังงานจลน์สูงกว่าค่าพลังงานกระตุ้นเมื่อชนกันแล้วจะเกิดเป็นผลผลิตทุกครั้ง
บางปฏิกิริยาความเข้มข้นของสารตั้งต้นไม่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
อัตราการเกิดปฏิกิริยาคืออัตราการชนของโมเลกุลสารตั้งต้น
อัตราการเกิดปฏิกิริยาของปฏิกิริยาดูดความร้อนจะช้าลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
2. พลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา A+B ----> 2C คือ 250 kg/mol และ
พลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา 2C---->A+B คือ 220 kg/mol ดังนั้นปฏิกิริยาของ A+B---->2C เป็นปฏิกิริยา
ดูดความร้อน 30 kg/mol
คายความร้อน 30 kg/mol
ดูดความร้อน 250 kg/mol
คายความร้อน 250 kg/mol
3. การทดลองในข้อใด ที่มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุดที่อุณหภูมิเดียวกัน
ใส่แผ่นสังกะสี 1 ชิ้น หนัก 1 กรัมลงในกรด HCl 0.1 mol/L
ใส่สังกะสีผงละเอียดหนัก 1 ชิ้น หนัก 1 กรัมลงในกรด HCl 0.2 mol/L
ใส่แผ่นสังกะสี 2 ชิ้น หนัก 0.5 กรัมลงในกรด HCl 0.2 mol/L
ใส่สังกะสีผงละเอียดหนัก 1 ชิ้น หนัก 1 กรัมลงในกรด HCl 0.1 mol/L
4. ปฏิกิริยา A ------> B มี Ea ไปข้างหน้า = 150 ย้อนกลับ = 120 จงหา ของปฏิกิริยา B -------> A และเป็นดูดหรือคายความร้อน
= 270 คายความร้อน
= 270 ดูดความร้อน
= 30 คายความร้อน
= 30 ดูดความร้อน
5. จากปฏกิริยาเคมี 2A + B ---> 1/2 C + D อัตราการเกิดปฏิกิริยานี้เท่ากับข้อใด
อัตราการลดลงของ A = 4 เท่าของอัตราการเกิดของ C
อัตราการลดลงของ B = 2 เท่าของอัตราการลดลงของ A
อัตราการลดของ B = 1/2 เท่าของอัตราการเกิดของ C
อัตราการลดลงของ A = อัตราการเกิดของ D
6. ปฏิกิริยาเติมก๊าซไฮโดรเจนแก่สารอินทรีย์แทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าไม่เติมผงนิกเกิลลงไปในปฏิกิริยา และเมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาแล้วจะได้นิกเกิลเหมือนเดิม ผงนิกเกิลมีผลต่อปฏิกิริยาอย่างไร
ลดพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา
เพิ่มความสามารถในการผสมเป็นเนื้อเดียวกันของสารที่ทำปฏิกิริยา
เพิ่มพลังงานจลน์ให้แก่โมเลกุลของสารตั้งต้น
ทำให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นเพิ่มขึ้น จึงมีการชนกันมากขึ้น
7. เมื่อนำสารละลายแอมโมเนียมาใส่ในขวดรูปชมพู่ เขย่าเล็กน้อย แล้วนำลวดพลาตินัมที่อุ่นให้ร้อนหย่อนลงไปในขวดเหนือระดับของเหลว พบว่าลวดพลาตินัมร้อนแดงขึ้น ข้อสรุปผลการทดลองนี้ข้อใดถูกต้อง
1.แอมโมเนียถูกออกซิไดส์โดยออกซิเจนในอากาศ
2.ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
3.ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน
4.ลวดพลาตินัมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ก และ ง
ก ค และ ง
ก และ ข
ก ข และ ง
8. Catalyst ไม่มีผลต่อข้อใดต่อไปนี้
วิธีดำเนินไปของปฏิกิริยา
ค่าความร้อนที่ดูดหรือคายของปฏิกิริยา
ค่า Ea ของปฏิกิริยา
อัตราการเกิดปฏิกิริยา
9. การทดลองในข้อใด ที่มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุดที่อุณหภูมิเดียวกัน
ใส่แผ่นสังกะสี 1 ชิ้น หนัก 1 กรัมลงในกรด HCl 0.1 mol/L
ใส่สังกะสีผงละเอียดหนัก 1 ชิ้น หนัก 1 กรัมลงในกรด HCl 0.2 mol/L
ใส่แผ่นสังกะสี 2 ชิ้น หนัก 0.5 กรัมลงในกรด HCl 0.2 mol/L
ใส่สังกะสีผงละเอียดหนัก 1 ชิ้น หนัก 1 กรัมลงในกรด HCl 0.1 mol/L
10. ปฏิกิริยา A + 2B ---------> D เกิดจากปฏิกิริยา 2 ขั้น
ขั้นที่ 1 A + B ----------> C มีค่า Ea = 50
ขั้นที่ 2 C + B ----------> D มีค่า Ea = 30
ขั้นใดจะเป็นขั้นกำหนดอัตราเร็วของปฏิกิริยา เพราะอะไร
A + B ----------> C เพราะปฏิกิริยานี้เกิดช้า จึงเป็นขั้นกำหนดอัตราเร็วของปฏิกิริยา
C + B ----------> D เพราะปฏิกิริยานี้เกิดเร็ว จึงเป็นขั้นกำหนดอัตราเร็วของปฏิกิริยา
C + B ----------> D เพราะปฏิกิริยานี้เกิดช้า จึงเป็นขั้นกำหนดอัตราเร็วของปฏิกิริยา
A + B ----------> C เพราะปฏิกิริยานี้เกิดเร็ว จึงเป็นขั้นกำหนดอัตราเร็วของปฏิกิริยา
11. ปฏิกิริยา A ------> B มี Ea ไปข้างหน้า = 150 ย้อนกลับ = 120 จงหา ของปฏิกิริยา B -------> A และเป็นดูดหรือคายความร้อน
= 270 ดูดความร้อน
= 270 คายความร้อน
= 30 คายความร้อน
= 30 ดูดความร้อน
12. คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการอธิบายว่า เมื่ออุณหภูมิของระบบสูงขึ้นเล็กน้อยอัตราการเกิดปฏิกิริยา มักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือข้อใด
พลังงานจลน์ของโมเลกุลเพิ่มขึ้น
พลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น
จำนวนครั้งของการชนเพิ่มขึ้น
สัดส่วนของโมเลกุลที่มีพลังงานมากกว่าหรือเท่ากับพลังงานกระตุ้นมีมากขึ้น
13. ปฏิกิริยาหนึ่งสามารถหา Rate ของปฏิกิริยาได้จาก 1/2 เท่าของ Rate A ที่ลดลงหรือ 3 เท่าของ Rate B ที่ลดลงหรือ 2 เท่าของ Rate C ที่เกิดขึ้น จงหาปฏิกิริยาที่เกิด
2A ----> 1/3B + 1/2C
1/2A ----> 3B + 2C
1/2A + 2B ----> 3C
1/2A + 3B ----> 2C
14. กลไกของปฏิกิริยา Oxidation จาก ได้จากปฏิกิริยา 2 ขั้น คะตะไลท์ของปฏิกิริยานี้คือข้อใด








15. จากภาพต่อไปนี้ สารใดคือสารมัธยันต์และสารเชิงซ้อนถูกกระตุ้นตามลำดับ

สาร Q และสาร R
สาร C และสาร R
สาร A และสาร S
สาร B และสาร C
16. ปัจจัยใดต่อไปนี้มีผลทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง ก.การเพิ่มปริมาณสารตั้งต้น ข.การลดอุณหภูมิและความดัน ค.การเติมเอนไซม์ ง.การใช้สารลักษณะที่เป็นก้อนแทนสารที่เป็นผง
ก และ ข
ก และ ง
ค และ ง
ข และ ง
17. การใช้เหล็กในปฏิกิริยากระบวนการผลิตแอมโมเนียจากก๊าซไนโตรเจน และไฮโดรเจนนั้นสามารถทำให้ได้อัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงขึ้น เนื่องจากเหตุใด
เหล็กช่วยดูดซับก๊าซแอมโมเนียที่เกิดขึ้น ทำให้ปฏิกิริยาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปทางด้านผลิตภัณฑ์มากขึ้น
เหล็กช่วยตรึงไนโตรเจนเพิ่มเติมจากอากาศเข้ามาร่วมเกิดปฏิกิริยา
เหล็กทำให้พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยานี้ต่ำลง
เหล็กทำให้อุณหภูมิของระบบสูงขึ้น และเพิ่มความสามารถในการผสมเป็นเนื้อเดียวของไนโตรเจนกับไฮโดรเจน
18. ปฏิกิริยาระหว่างผงเหล็กกับออกซิเจนในอากาศเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน การเปลี่ยนแปลงในข้าใดต่อไปนี้ ควรทำให้ปฏิกิริยาดังกล่าว เกิดขึ้นเร็ว
ลดสัดส่วนของแก๊สไนโตรเจนต่อแก๊สออกซิเจนในอากาศ
เพิ่มขนาดอนุภาคของผงเหล็ก
ลดอุณหภูมิของผงเหล็ก
ผสมสังกะสีลงในผงเหล็ก
19. ของเหลวใส 2 ชนิด ต่างก็ไม่มีสีและกลิ่น ของเหลวชนิดหนึ่งเป็นสารบริสุทธิ์ และอีกชนิดหนึ่งเป็นสารละลาย การทดสอบใดใช้จำแนกของเหลวทั้งสองได้
ระเหยแห้ง
วัดความหนาแน่น
วัดจุดเดือด
ทำทั้ง 3 วิธี แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน
20. จากปฏิกิริยา เมื่อเพิ่มอุณหภูมิของระบบพลังงานก่อกัมมันต์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เพิ่มขึ้น
คงที่
ลดลง
ต้องทราบว่าปฏิกิริยาดูดหรือคายพลังงานจึงจะพิจารณาได้
21. ปรากฏการณ์ข้อใดที่คายพลังงาน
ทาแอลกอฮอล์บริเวณผิวหนังแล้วรู้สึกเย็น
เทไนโตรเจนเหลวบนพื้นเวทีเพื่อให้เกิดควันขาว
ใส่เม็ดเกลือบนน้ำแข็งในถึงทำไอศกรีมทำให้อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศา
การเกิดหยดน้ำเกาะที่กระจกด้านนอกห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ
22. ตามทฤษฏีการชนกันของโมเลกุลและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ข้อใดที่เป็นขั้นกำหนดอัตราเร็วของปฏิกิริยารวม
ปฏิกิริยาขั้นตอนย่อยที่ดำเนินไปช้าที่สุด
ปฏิกิริยาขั้นตอนย่อยที่ดำเนินไปเร็วที่สุด
ปฏิกิริยาขั้นตอนย่อยขั้นแรก
ปฏิกิริยาขั้นตอนย่อยขั้นสุดท้าย
23. ในการทดลองวัดปริมาตรของแก๊สไฮโดรเจนที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะอะลูมิเนียมกับสารละลายไฮโดรคลอริกโดยจับเวลา ที่เก็บแก๊สได้ทุกๆ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร นำข้อมูลมาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของแก๊สไฮโดนเจนกับเวลา แล้วหาค่าความชันของกราฟ ณ เวลา 50 100 150 200 และ 300 วินาที ถ้าผลการทดลองถูกต้อง ความชันของกราฟ ณ เวลาใดที่สูงที่สุด
50 วินาที
150 วินาที
200 วินาที
300 วินาที
24. แฟกเตอร์ที่มีอิทธิพลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคือ
ความเข้มข้นของสารละลาย ความดัน ตัวคะตะเลส พันธะโควาเลนต์
พันธะโควาเลนต์ อุณหภูมิ ความเข้มข้นของสารละลาย ความดัน
อุณหภูมิ ความเข้มข้นของสารละลาย พื้นที่ผิว ตัวคะตะเลส
อุณหภูมิ พันธะโควาเลนต์ พื้นที่ผิว ตัวคะตะเลส
25. ปัจจัยที่สำคัญที่เป็นตัวกำหนดว่าทำไมธรรมชาติของสารตั้งต้นจึงมีอิทธิพลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ความแตกต่างของขนาดโมเลกุล
ความแตกต่างของพันธะที่เกี่ยวข้องในการเกิดปฏิกิริยา
ความแตกต่างของมวลโมเลกุล
ความแตกต่างระหว่างพลังงานของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์
26. การกระทำใดไม่มีผลต่ออัตรการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การนำเนื้อหมูแช่ในช่องแช่แข็ง
ใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ช่วยในการบ่มมะม่วง
การเคี้ยวยาลดกรดชนิดเม็ดให้ละเอียดก่อนกลืน
การเปลี่ยนขนาดภาชนะที่บรรจุสารละลายที่ทำปฏิกิริยา
27. ถ้าใช้แผ่นโลหะแมกนีเซียมที่มีขนาดเป็นแผ่นใหญ่ขึ้น กราฟที่ได้จะมีลักษณะอย่างไร
กราฟจะเป็นเส้นตรง
กราฟจะมีลักษณะอยู่ในตำแหน่งเดิม
กราฟจะชันมากขึ้นและสูงกว่ากราฟเดิม
กราฟจะชันน้อยลงและอยู่ตำกว่ากราฟเดิม
28. ใส่แท่งโลหะสังกะสีรูปทรงกลม 1 cm3 ลงในกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 0.1 20 cm3 แล้วเขย่าเบาๆ ถ้าเพิ่มสิ่งต่อไปนี้เป็น 2 เท่า อะไรจะทำให้อัตราเร็วของการเกิดแก๊ส มากขึ้น
พื้นที่ผิวของ Zn
ปริมาตรของ Zn
ปริมาตรของ HCL
ความเข้มข้นของ HCl
29. ข้อใดเป็นเหตุผลที่ถูกต้องที่สุดเพื่อแสดงว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขี้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
โมเลกุลของสารตั้งต้นชนกันมากขึ้น
จะทำให้ความดันเพิ่มขึ้น
ทำให้พลังงานกระตุ้นเพิ่มขึ้น
โมเลกุลบางส่วนมีพลังงานสูงเกิดขึ้น
30. การที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นนั้นเป็นเพราะเหตุใด
โมเลกุลชนกันบ่อยครั้ง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
โมเลกุลชนกันแรงขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
โมเลกุลมีพลังงานสูงพอที่จะเกิดปฏิกิริยา มีจำนวนมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
พันธะในโมเลกุลของสารตั้งต้นจะถูกทำลายได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
31. เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเหตุผลข้อใด
จำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานสูงกว่าสารกระตุ้น เพิ่มมากขึ้น
โมเลกุลที่มีพลังงานสูงกว่าพลังงานกระตุ้น ชนกันมากขึ้น
จำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานสูงกว่าพลังงานกระตุ้น เพิ่มมากขึ้นและมีการชนกันมากขึ้น
โมเลกุลทั้งหมดของสาร ตั้งต้นมีพลังงานสูงกว่าพลังงานกระตุ้น และชนกันมากขึ้นอย่างถูกทิศทาง
32. คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับอธิบายว่า เมื่ออุณหภูมิของระบบเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอัตรการเกิดปฏิกิริยามักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือข้อใด
จำนวนครั้งของการชนมากขึ้น
พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลเพิ่มขึ้น
สัดส่วนของโมเลกุลที่มีพลังงานกมากกว่าหรือเท่ากับพลังงานกระตุ้นมีมากขึ้น
พลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยามีมากขึ้น
33. ข้อใดมีผลทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน
เพิ่มอุณหภูมิ ลดความดัน
เพิ่มพื้นที่ผิว ใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา
เพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น เพิ่มพลังงานก่อกัมมันต์
เพิ่มพื้นที่ผิว เพิ่มขนาดภาชนะที่บรรจุ
34. โดยทั่วไปอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ 10 องศาในการทดลองหนึ่งสารตัวอย่างของโพแทสเซียมคลอเรตสลายตัว 90 % โดยมวลในเวลา 20 นาที ถ้าเพิ่มอุณหภูมิ 20 องศา สารตัวอย่างดังกล่าวจะใช้เวลาในการสลายกี่นาที
2.5
5
10
15
35. หน้าที่ตัวเร่งของปฏิกิริยาคือข้อใด
ลดความแตกต่างระหว่างพลังงานของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์
เพิ่มพลังงานให้กับโมเลกุลของระบบ
ลดพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา
ช่วยเพิ่มจำนวนครั้งของการชนกันของโมเลกุลของสารตั้งต้น
36. ปฏิกิริยาแก๊สไฮโดรเจนแก่สารอินทรีย์แทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าไม่เติมผงนิกเกิลลงไปในปฏิกิริยาและสิ้นสุดปฏิกิริยาแล้ว จะได้ผงนิกเกิลเหมือนเดิม ผงนิกเกิลมีผลต่อปฏิกิริยาอย่างไร
เพิ่มพลังงานจลน์ให้แก่โมเลกุลของสารตั้งต้น
ลดพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา
เพิ่มความสามารถในการผสมเป็นเนื้อเดียวกันของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา
ลดความแตกต่างระหว่างระดับพลังงานของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์
37. ณ อุณหภูมิหนึ่ง ก สลายตัวให้ ข ร้อยละ 90 โดยนำหนักใช้เวลา 40 นาที เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 10 องศา อัตราการสลายตัวจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ถ้าต้องการให้ ก สลายตัวไปร้อยละ 90 โดยน้ำหนักในเวลาเพียง 10 นาที จะต้องเพิ่มอุณหภูมิกี่องศาเซลเซียส
10
20
30
40
38. ปฏิกิยา A(aq) + B(aq) ---->C(aq) + D(aq) เป็นปฏิกิริยาความร้อน ข้อใดผิด
ถ้าลดอุณหภูมิ อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะลดลง
ถ้าเติมตัวเร่งปฏิกิริยา อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้น
ถ้าเติม A อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้น
ถ้าเติม C อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะลดลง
39. สาร X สามารถสลายตัวได้ดังสมการ 3X 5Y + 6Y เมื่อวัดความเข้มข้นของสาร X ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาการสลายตัว พบว่า ได้ข้อมูลดังตารางต่อไปนี้
ที่เวลา 5 นาที จะมีสาร Y เข้มข้นกี่โมล/ ลูกบาศก์เดซิเมตร
0.15
0.25
0.85
1.42
40. .ถ้าพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยาทั้งสองต่อไปนี้มีค่าเท่ากัน

อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่50 ของปฏิกิริยาทั้งสองเปรียบเทียบกันเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
อัตราของทั้งสองปฏิกิริยาเท่ากัน เพราะ และ มีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน
อัตราของปฏิกิริยา (1) สูงกว่าของ (2) เพราะ เป็นโมเลกุลเล็ก จึงมีความเร็วในการวิ่งเข้าชน มากกว่า
อัตราของปฏิกิริยา (2) สูงกว่าของ (1) เพราะ เป็นโมเลกุลใหญ่ทำให้มีพื้นที่ผิวชนกันได้มากกว่า
อัตราของปฏิกิริยา (2) สูงกว่าของ (1) เพราะผลิตภัณฑ์ เสถียรมากกว่า
41. กำหนดให้ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาต่อไปนี้ ที่อุณหภูมิ มีค่า a, b และ c ดังนี้

= ……. มีค่าเท่าใดในเทอม a, b และ c
a + c - b
a + 2c - b
ac / b
ac2/b
42. ปฏิกิริยา เกิดในระบบปิดที่อุณหภูมิคงที่ ถ้านำแก๊ส X จำนวนหนึ่งใส่ลงในภาชนะขนาด 2 ที่สมดุล พบว่า ความเข้มข้นของ X เท่ากับ 0.2 เมื่อเติม X ลงไปอีกจำนวนหนึ่งพบว่า ที่สมดุลใหม่ความเข้มข้นของ X เปลี่ยนเป็น 1.8 ความเข้มข้นของสมดุลใหม่ของแก๊ส Y จะเป็นกี่เท่าของค่าเดิม
1/4
2
3
4
43. จากปฏิกิริยาต่อไปนี้
,
ถ้าใช้สารตั้งต้น 1 g สารตั้งต้นตัวใดเกิดปฏิกิริยาให้แก๊ส มากที่สุด




44.





45. จากการทดลองวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาโดยการจับเวลาตั้งแต่เริ่มต้นตั้งจนปฏิกิริยาสิ้นสุดที่อุณหภูมิต่างๆกัน
พบว่าได้ผลดังนี้
อัตราเร็วของปฏิกิริยานี้จะเพิ่มเป็น 2 เท่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเท่าใด
8
10
12
16
46. อัตราเร็วของปฏิกิริยาไปข้างหน้าในสมการ










47. สำหรับปฏิกิริยา ซึ่งเกิดขึ้นในระบบปิด อัตราการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (วัดจากปริมาตรของแก๊ส ที่เกิดขึ้น) เปลี่ยนไปตามเวลาดังกราฟรูปใด







48. ปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานดังกราฟนี้ ควรมีลักษณะอย่างไร
  ขั้นที่1 ขั้นที่2 ขั้นที่3
1
2
3
4
เกิดเร็ว คายพลังงาน
เกิดเร็ว คายพลังงาน
เกิดช้า ดูดพลังงาน
เกิดเร็ว คายพลังงาน
เกิดช้า คายพลังงาน
เกิดเร็ว คายพลังงาน
เกิดเร็ว ดูดพลังงาน
เกิดช้า คายพลังงาน
เกิดเร็วปานกลาง ดูดพลังงาน
เกิดช้า ดูดพลังงาน
เกิดช้า คายพลังงาน
เกิดเร็วปานกลาง คายพลังงาน
49. ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นของแข็ง สามารถเพิ่มอัตราเร็วของปฏิกิริยาระกว่างแก๊สได้ดังนี้ I ดูดซับโมเลกุลของสารตั้งต้นไว้บนผิว II ทำให้พลังงานพันธะในโมเลกุลของสารตั้งต้นมีค่าลดลง III ทำให้พลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยามีค่าลดลง IV ทำให้โมเลกุลของสารตั้งต้นมีพลังงานเฉลี่ยสูงขึ้น ข้อความข้างต้นนี้ข้อความใดถูกต้อง
I , II และ III เท่านั้น
I และ II เท่านั้น
II และ IV
IV เท่านั้น
50. ในปฏิกิริยา A ----> B ----> C มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานดังนี้
ข้อความต่อไปนี้ข้อความใดถูกต้อง
เกิดปฏิกิริยา 2 ขั้น และเกิดสาร B ขึ้นมากพอๆกับสาร C
ปฏิกิริยา A ----> B เกิดได้เร็ว ปฏิกิริยา B ----> C เกิดได้ช้า
เกิดปฏิกิริยา 2 ขั้นตอนน แต่สาร B กลายเป็นสาร C จนหมด
ผลิตภัณฑ์สุดท้ายคือสารB เพียงชนิดเดียว

4 ความคิดเห็น:

  1. แนวข้อสอบเรื่องปฏิกิรนิยาเคมีดีจัง อ่านแล้วสามาถรนำไปใช้ในการสอบครั้งไปได้ด้วย.....อิอิ

    ตอบลบ
  2. คล้ายๆๆ กับข้อสอบที่เคยสอบเลย....

    ตอบลบ
  3. โห...แนวข้อสอบเยอะแบบนี้คงจะเข้าใจมากขึ้นน่ะ

    ตอบลบ